ต้นลูกใต้ใบ สมุนไพรบำรุงตับไต แก้ปวดหลังปวดเอว - 7 วัน

สดๆร้อนๆ

Saturday, March 29, 2025

ต้นลูกใต้ใบ สมุนไพรบำรุงตับไต แก้ปวดหลังปวดเอว

ต้นลูกใต้ใบ สมุนไพรบำรุงตับไต แก้ปวดหลังปวดเอว ตับอักเสบ ค่าตับลดลง บำรุงไต บำรุงตับ หอมกรุ่นขมชุ่มคอ แก้ไข้ทุกชนิด แก้ขัดเบา ตับอักเสบบี,ซี โรคตับฉี่เป็นสีน้ำตาลเลยนะ ต้มดื่มหายดี!!

วิธีใช้

ใส่ลูกใต้ใบลงไปในหม้อ 1 กำมือ เติมน้ำจนท่วม

ต้มด้วยไฟอ่อนถึงปานกลาง ประมาณ 30 นาที

จนน้ำเป็นสีเหลืองเข้ม กินก่อนอาหาร 2 เวลา

ครั้งละแก้ว เติมน้ำในหม้อเก่าได้จนกว่าน้ำจะจืด

ใครเป็นโรคเกี่ยวกับตับ หาต้นสดมาต้มได้ยิ่งดี

#ต้นลูกใต้ใบ #บำรุงตับไต




เรียนรู้เพิ่มเติม

68 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นลูกใต้ใบ ! (หญ้าใต้ใบ)

ลูกใต้ใบ ลูกใต้ใบ ชื่อสามัญ Egg woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf ลูกใต้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus amarus Schumach. Thonn.[1],[2],[3],[5] สมุนไพรลูกใต้ใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), จูเกี๋ยเช่า (จีน) เป็นต้น[1],[2],[3],[5],[6] จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ชนิดของลูกใต้ใบ ชนิดของลูกใต้ใบที่สามารถพบโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn., Phyllanthus debilis Klein ex Willd., Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ), และชนิด Phyllanthus virgatus G.Forst. และต่อมาในภายหลังได้มีการค้นพบลูกใต้ใบในประเทศไทยเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด ซึ่งได้แก่ ลูกใต้ใบดอกขาว (Phyllanthus sp.1), ลูกใต้ใบตีนชี้ (Phyllanthus sp.2), และลูกใต้ใบหัวหมด (Phyllanthus sp.3)[6]

ลักษณะของลูกใต้ใบ ต้นลูกใต้ใบ จัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม[1],[2] มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เปรู บราซิล สหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแคริบเบียน และในทวีฟแอฟริกา

ใบลูกใต้ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีก้านใบสั้นมาก มีหูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน[1],[2]

ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักจะอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ โดยดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 ก้าน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย มีอับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน[1],[2]

ผลลูกใต้ใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบมีสีเขียวอ่อนนวล ผลมีขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร โดยผลมักจะเกาะติดอยู่บริเวณใต้โคนของใบย่อย และอยู่ในบริเวณกลางก้านใบ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยว 1 ส่วน 6 ของรูปทรงกลม มีสันตามยาวทางด้านหลัง และมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 เซนติเมตร[1],[2]

สมุนไพรไทยลูกใต้ใบ ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญดังนี้ ธาตุโซเดียม 0.86 %, ธาตุโพแทสเซียม 12.84 %, ธาตุเหล็ก 10.68 %, ธาตุแคลเซียม 6.57 %, ธาตุแมกนีเซียม 0.34 %, ธาตุอะลูมิเนียม 3.92 %, ธาตุฟอสฟอรัส 0.34 %, ธาตุแคดเมียม 8 ppm และสารหนู 12 pmm ส่วนองค์ประกอบของสารเคมีจะประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins), ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), ลิกแนนส์ (Lignans), ไกลโคไซด์ (Glycosides), ซาโปนิน (Saponin) ฯลฯ[6]